สปสช.เร่งกระจายติดสติกเกอร์ 30 บาทรักษาทุกที่ให้หน่วยบริการทันตกรรม จ.อุดรธานีและ คลินิกเทคนิคการแพทย์ วัฒนา เฮลท์แล็บ ” ตำบลโพธิชัย อำเภอเมืองหนองคาย จ.หนองคาย
รองเลขาธิการสปสช. ลงพื้นที่ “คลินิกทันตกรรมหมอนวลละออ:คลินิกเฉพาะทางด้านทันตกรรมศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล (รากเทียม) ในพื้นที่เขตเทศบาลนครอุดรธานีพบประชาชนเข้าถึงบริการในภาคเอกชนได้ง่ายขึ้นประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางลดการรอคอยในรพ.ใหญ่ได้ และคลินิกเทคนิคการแพทย์ วัฒนา เฮลท์แล็บ ” ตำบลโพธิชัย อำเภอเมืองหนองคาย จ.หนองคาย พร้อมเยี่ยมผู้ป่วยไตที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจ.หนองคาย
เมื่อวันที่ 25 กันยายน 67 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พร้อมด้วย นพ.นพรัตน์ พันธุเศษฐ์ ผอ.สปสช.เขต 8 อุดรธานี และพญ.อรวรรณ นิมิตวงศ์สกุล ผอ.กลุ่ม จังหวัดสปสช. เขต8 อุดรธานี และหนองคายลงพื้นที่ติดสติกเกอร์ 30 บาทรักษาทุกที่ ให้หน่วยนวัตกรรมคลินิกทันตกรรมหมอนวลละออ ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
และคลินิกเทคนิคการแพทย์ วัฒนา เฮลท์แล็บ ” ตำบลโพธิชัย อำเภอเมืองหนองคาย จ.หนองคาย เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ใช้สิทธิบัตรทองมาใช้บริการได้ฟรี ไม่ต้องมีใบส่งตัว พร้อมชื่นชมคลินิกทันตกรรม และวัฒนา เฮลท์แล็บ ให้บริการด้วยใจ
โดยมี ทพญ.นวลละออ เกียรติศรีธนกร ผู้บริหารคลินิกฯ ให้การต้อนรับและพา ชมการดำเนินงาน วัฒนา เฮลท์แล็บและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้ประกอบการคลินิกที่เข้าโครงการนโยบายยกระดับ 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ซึ่งมี พญ.พีรวรรณ จังศิริวัฒนธำรง ดร. ณัฐธิรา ตั้งสืบกุล ผู้บริหารคลินิก และ นายพีรพัฒน์ ตั้งสืบกุล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร เครือโรงพยาบาลวัฒนา พาเยี่ยมชมในคลินิกฯ
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ กล่าวว่า คลินิกทันตกรรม เป็นหนึ่งใน7 นวัตกรรมหน่วยบริการ สาธารณสุขวิถีใหม่ที่ สปสช. เชิญชวนสถานพยาบาลเอกชนมาร่วมให้บริการในระบบบัตร ทองกับ สปสช. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการให้กับประชาชนผู้ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ(บัตรทอง 30 บาท) ลดการรอคอยตรวจรักษา รวมถึงลดความแออัดในโรงพยาบาล ซึ่งภาพรวมของการให้บริการ ถือเป็นทิศทางที่ดีมาก จากรายงานของ สปสช. เขต 8 อุดรธานี พบว่ามีแนวโน้มที่หน่วยนวัตกรรมบริการฯ จะมาเข้าร่วมในระบบเพิ่มขึ้น ขณะที่ ประชาชนเองก็มีการรับบริการที่หน่วยนวัตกรรมบริการฯ เพิ่มมากขึ้นด้วย
ด้านทพญ.นวลละออ เกียรติศรีธนกร กล่าวว่า โครงการนี้ มีประโยชน์ต่อประชาชนมาก เป็น บริการในภาคเอกชนที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้นประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไป โรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการรอคอย สามารถมาใช้บริการนอกเวลาราชการได้ และที่สำคัญคือ เมื่อการเข้าถึงการรักษาได้ง่าย จะสามารถป้องกันไม่ให้โรคลุกลามรุนแรง ขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความซับซ้อนและยุ่งยากในการรักษาและจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยไปรพ.รัฐแล้วไม่ได้รับการรักษา เนื่องจากผู้ไปใช้บริการมีเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดความแออัดและไม่สามารถให้บริการกับผู้ป่วยได้อย่างครอบคลุม
นอกจากนี้ยังลงพื้นที่ วัฒนา เฮลท์แล็บ คลินิกแล็บพร้อมนพ.รัฐวิชญ์ สุนทร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านหลักประกันสุขภาพ รพ.หนองคาย
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ที่เรามาดูในวันนี้ ซึ่งเป็นหน่วยบริการนวัตกรรม ภายใต้นโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ในแง่ของบริการมีการดำเนินการได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ข้อดี คือโรงพยาบาลรัฐเสมือนมีแล็บเป็นของโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นโดยไม่ต้องลงทุนเอง ประชาชนก็ได้รับบริการเร็วขึ้น สะดวกขึ้น อยากเชิญชวนทางโรงพยาบาลให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกับคลินิกเอกชนมากขึ้น ดังนั้น อยากจะเชิญชวนคลินิกและแล็บเอกชนเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากมีคนไข้เข้ารับบริการที่โรงพยาบาลจำนวนมาก โดยเฉพาะในการเจาะสารคัดหลั่งส่งตรวจในห้องปฏิบัติการ
พญ. พีรวรรณ จังศิริวัฒนธำรง ผู้บริหาร คลินิกเทคนิคการแพทย์วัฒนา เฮลท์ แล็บ กล่าวว่า เนื่องจากวัฒนาเฮลท์แล็บ ได้ทำงานร่วมกับโรงพยาบาลแม่ข่ายในการให้บริการ โดยส่วนมากผู้มารับบริการ จะเป็นผู้ป่วยคลินิกเบาหวาน ไขมัน และความดัน รับบริการ OP จำนวน 22 รายการเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉลี่ย วันละประมาณ 40-50ราย/ วัน
“การตอบรับของประชาชนที่มาใช้บริการ ให้การตอบรับดี ได้เจาะเลือดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอคิวนาน เพราะทางคลินิก เริ่มให้บริการเจาะเลือดตั้งแต่เวลา 05.00 น เป็นต้นไป ทำให้ประชาชนที่ต้องงดน้ำ งดอาหาร เพื่อเข้ารับการเจาะเลือด ได้รับประทานอาหารและยาโรคประจำตัวได้เร็ว ระหว่างรอผลการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และรอพบแพทย์ สำหรับประชาชนเมื่อมาใช้บริการแล้ว ยอมรับว่า เมื่อได้มาใช้บริการแล้ว ขอให้เปิดให้บริการแบบนี้ต่อไป เพราะสะดวก ไม่ต้องรอคิวเจาะเลือดนาน ส่วนของคลินิกเอง ก็ได้ประโยชน์จากการเริ่มโครงการ คือ ทำให้คลินิกเทคนิคการแพทย์ เป็นที่รู้จักของประชาชนมากขึ้น มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้น มีประชาชนรู้จักและเข้าใจบทบาทวิชาชีพเทคนิคการแพทย์เยอะขึ้น ” พญ. พีรวรรณกล่าว
จากนั้นคณะเดินทางเยี่ยม นางยุง เลถิ อายุ 80 ปี เป็นผู้ป่วยโรตไตที่ต้องฟอกเลือด เริ่มฟอกเลือด เดือน มิถุนายน 2565 ซึ่งได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ จ.หนองคาย เล่าว่า หลังจากที่น้ำท่วมใหญ่เมื่อวันที่13กย.67ที่ผ่านมา น้ำท่วมสูง60ซม.ครอบครัวต้องย้ายไปพักบ้านญาติอยู่ประมาณ 4-5 วัน เพราะห้องน้ำใช่ไม่ได้ ร้องไห้ทุกวัน อีกทั้งต้องฟอก เลือดที่รพ.สัปดาห์ละ 2ครั้ง ถ้าไม่ได้ฟอกก็จะเหนื่อย โชคดีที่ลูกชาย ลูกสาวดูแลดี “ขอบคุณ สปสช.ที่มาเยี่ยมและให้กำลังใจ ตนอยากบอกกับคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคไตและต้องล้างไตทุกสัปดาห์ ขอให้สู้ๆและเป็นกำลังใจให้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ไม่มีญาติดูแล”