สปสช.เยี่ยมชมมูลนิธิขาเทียมฯ ที่ รพ.แม่ลาว บอกว่า ที่นี่มีจุดเด่นให้บริการขาเทียมหลายแบบ ทั้งระดับข้อขา ใต้เข่า ระดับเข่า และเหนือเข่า ให้ผู้พิการขาขาดได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน ได้
เมื่อวันที่ 2 4กันยายน 2567 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. พร้อมด้วยทพญ.ปาริชาติ ลุนทา
ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สปสช.เขต1 เชียงใหม่ และนางกชปภัทร บุญเทียมทัด ผู้อำนวยการฝ่ายเงินฝาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานของมูลนิธิขาเทียมฯ ที่ รพ.แม่ลาว
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า ที่นี่มีจุดเด่นให้บริการขาเทียมหลายแบบ ทั้งระดับข้อขา ใต้เข่า ระดับเข่า และเหนือเข่า ให้ผู้พิการขาขาดได้เลือกใช้ให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของตัวเอง ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในสิทธิประโยชน์บัตรทองทั้งหมดแล้ว โดยในครั้งนี้มาดูว่ายังมีอุปกรณ์อะไรที่ต้องสนับสนุนเพิ่มเติม รวมทั้งระบบการเบิกจ่ายเพื่อพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น
รองเลขาธิการฯกล่าวว่า แม้ปัจจุบันจะมีศูนย์บริการขาเทียมอยู่ทั่วประเทศ แต่ก็อาจยังไม่เพียงพอ อย่างที่ รพ.แม่ลาว ต้องรับส่งต่อจากพื้นที่ต่างอำเภอ ประชาชนอาจไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการทำขาเทียม แต่ยังต้องเสียค่าจ้างเหมารถเดินทางมาก เป็นหลักนับพันบาท ฉะนั้นถ้าสามารถเพิ่มศูนย์กระจายให้มากขึ้น ก็จะช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้ง่าย ส่วนอุปกรณ์ในการทำขาเทียมบางตัวที่มีความจำเป็น แต่ยังไม่ได้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์
“ทาง สปสช. จะกลับไปพิจารณาว่ามีอะไรที่สามารถเพิ่มเติมได้ พร้อมทั้งสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จำเป็น บรรจุเข้าไปในบัญชีนวัตกรรม เพื่อสนับสนุนการทำงานของมูลนิธิขาเทียมฯให้สมบูรณ์มากขึ้น” ทพ.อรรถพรกล่าว
ด้านนาย นพณัช บุญสุข นักกายภาพบำบัดชำนาญการ หัวหน้ากลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู รพ.แม่ลาว กล่าวว่า แต่ละปีมีผู้มาใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ผู้พิการที่ได้รับขาเทียมไปจากรพ. แม่ลาวจะมีอายุการใช้งานประมาณ1-2ปี สาเหตุหลักมาจากอุบัติเหตุจราจร รถยนต์ รถจักรยานยนต์เป็นหลัก เบาหวานและมะเร็งที่ขา แผลติดเชื้อ ความต้องการส่วนใหญ่ใต้หัวเข่า ความยากของผู้พิการส่วนใหญ่ คือการจ้างเหมารถโรงพยาบาลครั้งละ 1-2พันบาท
“ในปี2568 เราจะเน้นการออกตรวจลงพื้นที่เข้าไปหาผู้พิการ ที่เดินทางมาค่อนข้างยากลำบาก ซึ่งวางแผนไว้ที่อ.เวียงป่าเป้า กับ พญาเม็งราย อำเภอละ 20 คน ถึงแม้ว่าการให้บริการของโรงพยาบาลจะให้ฟรีแต่ผู้พิการส่วนใหญ่ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางและค่อนข้างสูง ขาเทียมแต่ละประเภท เช่น ขาเทียมใต้เข่าใช้เวลา1วัน ส่วนขาเทียมเหนือเข่าเดิมใช้เวลา3-5 วัน ” นักกายภาพบำบัดชำนาญการ กล่าวและว่า ปัจจุบันเราสามารถจัดการเวลาเหลือ 2 วัน คนไข้ได้รับขากลับบ้าน ผู้ ที่มาใช้บริการส่วนใหญ่เป็นสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม ข้าราชการ พิการต่างชาติ ก็มีมารับ เช่น ล าว พม่า อย่างไรก็ตาม ยังมีวัสดุสิ้นเปลืองที่รพ. ต้องทำการจัดซื้อ เช่น น้ำยา ถุงน่องที่เราต้องใช้จำนวนมากอีก
นายสุชาติ โตน้อย อายุ 57 ปี ผู้พิการขาซ้ายเหนือเข่า เกิดอุบัติเหตุจากรถไฟทับขา มานาน 20ปี เดิมเป็นชาวพิษณุโลก ปัจจุบันใช้ชีวิตอยู่ครอบครัวที่อ.เชียงแสน ซึ่งมาทำขาเทียมที่ รพ.แม่ลาว บอกว่า ได้ใส่ขาเทียมมานานประมาณ 20 ปี แล้วถึง 8 ขาและครั้งนี้เป็น ขาที่9 ที่ต้องมารพ.เปลี่ยนขาเทียมบ่อยเพราะ ขาเทียมที่ใช้มีอายุประมาณ 1-2 ปีต้องมาเปลี่ยนเพราะขาเก่าที่ใช้ไปจะหลวมเดินไม่สะดวก ก็ต้องมาวัดขนาด ทำใหม่ เพื่อให้รองรับกับร่างกาย
นายสุชาติ กล่าวว่า มาทำขาเทียมที่รพ.แม่ลาวครั้งนี้เป็นขาที่9 ซึ่งใช้เวลาหลายวัน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพียงเสียเฉพาะค่าเดินทาง เหมารถมากับแฟนซึ่งพิการขาขวาเนื่องจากติดเชื้อโดยมีค่าเดินทางมา วันละ1,200 บาท ซึ่งตนมา2วันเสีย 2,400 บาท
”อยากขอบคุณสปสช.และรพ. แม่ลาว หน่วยงานรัฐที่ทำให้ชีวิตตนถึงพิการขาก็สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ ไม่ต้องเป็นภาระให้ใคร“ นายสุชาติ กล่าว