สปสช. ลงพื้นที่เยี่ยมหน่วยนวัตกรรมร้านยาคลังยากาดธานินทร์และอาริยาคลินิกทันตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ เป็น “ หน่วยนวัตกรรมบริการ 7 วิชาชีพ ” ชี้ลดความแออัดในรพ. และประชาชนสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงง่าย ใกล้บ้าน ผลตอบรับดีมาก
เมื่อวันที่ 9-10 มิถุนายน 2567 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสปสช. พร้อมด้วย ทพญ. ปาริชาติ ลุนทา ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สปสช.เขต1 เชียงใหม่ ลงพื้นที่ เยี่ยมชมร้านยาคลังยากาดธานินทร์และอาริยาคลินิกทันตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ หน่วยนวัตกรรมบริการ ตามนโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกที่ โดยมี เภสัชกร วิวัฒน์ ทาสิงห์ เภสัชกรปฏิบัติการประจำร้านยา เจ้าของคลังยากาดธานินทร์ และ ทพญ.อังคณา อาริยา เจ้าของ อาริยาคลินิกทันตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สรุปภาพรวมของการดำเนินการในร้านยา ซึ่งมีร้านยาในจ.เชียงใหม่ ตามโครงการฯ แล้ว 164 แห่ง และคลินิกทันตกรรม จ.เชียงใหม่ ดำเนินโครงการฯ แล้ว 31 แห่ง
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า หน่วยนวัตกรรมบริการ 7 วิชาชีพ ตามนโยบาย “ตามนโยบาย 30 บาทรักษาได้ทุกที่ ”เฟสที่ 3 ในจังหวัดเชียงใหม่ จากที่ลงพื้นที่มีความประทับใจหน่วยบริการภาคเอกชนในพื้นที่เข้ามาเป็นหน่วยบริการเพื่อตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีหน่วยนวัตกรรม 7 วิชาชีพ ให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวนมาก โดยเฉพาะร้านยาและคลินิกทันตกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นและมีความสะดวกมากขึ้น ในส่วนของการจ่ายชดเชยค่าบริการ สปสช. ยืนยันแล้วว่าสามารถจ่ายได้ใน 3 วัน
“ในพื้นที่สปสช.เขต 1 มี 8 จังหวัด ดังนี้ จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.แม่ฮ่องสอน จ.แพร่ จ.น่าน จ.ลำปาง จ.ลำพูน และจ.พะเยา ซึ่งดำเนินโครงการบัตรประชาชนใบเดียวแล้วกว่า 726 แห่ง โดยเขต 1 เชียงใหม่ มีจ.แพร่ เป็นจังหวัดนำร่องเฟสแรกของเขต 1 เชียงใหม่ เป็นต้นมา นั้นพบว่า ทุกที่มีหน่วยนวัตกรรมบริการมีความพร้อมแล้ว แต่สิ่งที่อยากเน้นย้ำ คือขอหน่วยนวัตกรรมบริการ ช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด” รองเลขาธิการสปสช.กล่าว
รองเลขาธิการสปสช.กล่าวว่า สถานการณ์การขับเคลื่อนนโยบายยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่ หรือหน่วยนวัตกรรม ตั้งแต่เรา Kick off นโยบายฯ เมื่อเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมา ปัจจุบันอยู่ในเฟสที่ 3 ครอบคลุมพื้นที่ 45 จังหวัดทั่วประเทศ ขณะนี้ตัวเลขของ หน่วยบริการนวัตกรรม ที่มาเข้าร่วม อยู่ที่ประมาณ 4,008 แห่ง (ข้อมูล ณ 24 พ.ค. 2567) ซึ่งเชื่อว่าจะยังคงมีเพิ่มเติมเข้ามาอีก ทั้งหมดมีผลงานให้บริการ จำนวน 4,207,525 คน ให้บริการ 5,779,838 ครั้ง ซึ่งในจำนวนนี้ เป็นการให้บริการในหน่วยนวัตกรรม 7 วิชาชีพ จำนวน 1,129,647 คน ให้บริการ 1,533,440 ครั้ง สำหรับในส่วนของงบประมาณ 2 เฟส มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 165,492,180.99 ล้านบาท
ทพญ.ปาริชาติ ลุนทา ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สปสช.เขต1 เชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับ เชียงใหม่ เริ่มดำเนินการ 1 พฤษภาคม 2567 มีข้อมูลสะสมระหว่างวันที่ 1 –31 พฤษภาคม 2567 มีหน่วยบริการประกอบด้วย โรงพยาบาล รพ.สต. และหน่วยนวัตกรรม เข้าร่วม โครงการยกระดับ 30 บาทฯ จำนวน 613 แห่ง มีผู้รับบริการทั้งสิ้น 123,107 คน ใช้บริการ 215,046 ครั้ง โดยสปสช.จ่ายชดเชยแล้ว 45 ครั้ง เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 82,780,986.00บาท โดยมีหน่วยนวัตกรรมที่มีการเบิกจ่ายสูงสุด ได้แก่ ร้านยาจำนวน 5,461,449.00บาท คลินิกทันตกรรมจำนวน 116,983.00 บาท
อย่างไรก็ตาม ร้านยา และคลินิกทันตกรรมในจังหวัดเชียงใหม่ มีผลการดำเนินงานในระยะที่ 3 เริ่ม 1 พฤษภาคม 2567 พบว่า ร้านยาคลังยาฯ มีประชาชนเข้ารับบริการ จำนวน 124 คน 152 ครั้ง รับการจ่ายชดเชยแล้ว 17 ครั้ง เบิกจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 43,256.00 บาท ส่วนคลินิกทันตกรรมอาริยา อยู่ในช่วงเริ่มให้บริการ ตั้งแต่เข้าร่วมโครงการ มีคนไข้สิทธิบัตรทองมารับบริการ 35 คนโดยเฉลี่ย 1-2คน/วันเตรียมส่งข้อมูลสำหรับการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการต่อไป
ด้าน ภก.วิวัฒน์ ทาสิงห์ เภสัชกรปฏิบัติการประจำร้านยา เจ้าของคลังยากาดธานินทร์ กล่าวว่า ตนได้เข้าร่วมโครงการฯมาได้ 1เดือนแล้ว เฉลี่ยมีผู้มาใช้สิทธิ์รับบริการเพิ่มมากขึ้นประมาณ 20 คนต่อวัน เป้าหมายผู้มาใช้สิทธิ์เป็น พ่อค้าแม่ค้าในตลาด ซึ่งทำให้เวลาเจ็บป่วยเล็กน้อย ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย รวมถึงไม่ต้องหยุดงาน การรักษาหายไวขึ้น หากเป็นหนักจะแนะนำไปรักษาต่อ รพ. ส่วนเรื่องการเบิกจ่ายที่ผ่านมามีติดขัดบ้างเล็กนน้อย อยากให้มีคู่มือแนะนำเรื่องโปรแกรมระบบ จะช่วยลดปัญหาเรื่องนี้ได้มาก
ด้านทพญ.อังคณา อาริยา เจ้าของ อาริยาคลินิกทันตกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนเข้าร่วมโครงการฯมาได้15 วัน ประชาชนทีมาใช้สิทธิ์บัตรทองยังไม่ทราบเท่าที่ควร บางคนก็ยังมีความกังวล ไม่เชื่อว่ารักษาฟรี เราก็จะประชาสัมพันธ์ในไลน์กลุ่มคนไข้ หรือประธานชุมชน เพื่อใก้บอกต่อ ตั้งแต่เข้าร่วมโครงการมีคนไข้ใช้สิทธิ์แล้ว 35 คนเฉลี่ย 2-3 รายต่อวัน โดยคลินิกทำฟันนี้จะให้บริการฟรีกับผู้ใช้สิทธิ์บัตรทองทุกเพศทุกวัย ซึ่งคนไข้ที่มาใช้สิทธิ์ต่างดีใจไม่เสียค่าใช้จ่าย สะดวก รวดเร็วกว่าไปรักษาที่ รพ.โดยสิทธิ์บัตรทองที่ใช้คลินิกทันตกรรมเอกชน ต้องมีสติกเกอร์ติดที่หน้าคลินิก และสามารถใช้บริการ ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน และเคลือบฟลูออไรด์
ด้าน นส.ปานตะวัน ชุ่มใจ อายุ 21 ปีนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้ามารับบริการขูดหินปูนโดยใช้สิทธิ์บัตรทอง เล่าว่า พอดีน้ามาทำฟันที่คลิกนิกแห่งนี้และบอกว่า คนที่ใช้สิทธิ์บัตรทองสามารถมารักษาฟันฟรีได้ ตนเลยมาเพราะอยากขูดหินปูน โดยมาครั้งแรก รู้สึกดีใจไม่ต้องเสียค่าใข้จ่าย และดีใจกับคนที่ฃไม่มีเงินมารักษาจะได้รักษาสะดวก เร็ว และไม่ต้องรอนาน ถือว่าเป็โครงการที่ดีมาก ช่วยเหลือคนยากจนอย่างแท้จริง