ทพ.อรรถพร รองฯสปสช.เยี่ยมหน่วยนวัตกรรม จ.หนองบัวลำภู ติดตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เฟส 2 พบผู้มีสิทธิบัตรทองใช้บริการจำนวนมาก ย้ำประชาชนมีความพึงพอใจ หลังพบคลินิกกายภาพบำบัด และคลินิกทันตกรรมให้บริการดูแลประชาชนในพื้นที่ได้มาก
สปสช.ลงพื้นที่ นวัตกรรม คลินิกเติมบุญกายภาพบำบัด และโนนสังคลินิกทันตกรรม จ.หนองบัวลำภู จ.หนองบัวลำภู “หน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่” ชี้ลดความแออัดในรพ. และประชาชนสะดวกรวดเร็ว เข้าถึงง่สย ใกล้บ้าน
ทพ.อรรถพร รองฯสปสช.เยี่ยมหน่วยนวัตกรรม จ.หนองบัวลำภู ติดตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เฟส 2 พบผู้มีสิทธิบัตรทองใช้บริการจำนวนมาก ย้ำประชาชนมีความพึงพอใจ หลังพบคลินิกกายภาพบำบัด และคลินิกทันตกรรมให้บริการเป็นหน่วยนวัตกรรมบริการสาธารณสุขวิถีใหม่ พบ 2 เดือนดูแลประชาชนในพื้นที่ได้มาก ลดภาระงานในรพ. และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการสาธารณสุข
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย ทพ.กวี วีระเศรษฐกุล ผู้อำนวยการเขต สปสช. เขต 8 อุดรธานี พญ.อรวรรณ นิมิตรวงศ์สกุล ผู้อำนวยการกลุ่มจังหวัด สปสช.เขต 8 อุดรธานี และ ทพญ.วรางคณา อินทโลหิต รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด และ พญ.วสุธา ศรีวรรณา แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูชำนาญการ รพ.หนองบัวลำภู ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงาน“หน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่” ตามนโยบาย “ยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” ระยะที่ 2 ในจังหวัดหนองบัวลำภู โดยมีนายปรมินทร์ อุ่นทะยา เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัด สรุปภาพรวมของคลินิกกายภาพบำบัดเติมบุญ และทพ.นฤชิต ทองรุ่งเรืองชัย เจ้าของคลืนิคฌนนสังทันตกรรม
ทพ.อรรถพรกล่าวว่า “หน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่” ตามนโยบาย “ยกระดับ 30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” ระยะที่ 2 ในจังหวัดหนองบัวลำภู จากที่ลงพื้นที่มีความประทับใจหน่วยบริการภาคเอกชนในที่เข้ามาเป็นหน่วยบริการเพื่อยกระดับ 30 บาทฯ แม้เป็นจังหวัดเล็กๆ มีประชากรทั้งหมดประมาณ 438,167 คน แต่ก็มีหน่วยบริการที่สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก ซึ่งประโยชน์ด้านสุขภาพที่เกิดขึ้นจะตกกับประชาชนในพื้นที่ เข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นและมีความสะดวกมากขึ้น สำหรับหน่วยบริการที่ลังเลเข้าร่วมโครงการฯ นั้น ในส่วนของการจ่ายชดเชยค่าบริการ สปสช. ยืนยันแล้วว่าสามารถจ่ายได้ใน 3 วัน
“โครงการฯ นี้ ยังเป็นโอกาสในการแสดงบทบาทวิชาชีพในการรักษาผู้ป่วยให้มีอาการดีขึ้นและมีความภาคภูมิใจนอกจากรายได้ที่ได้เสริมเพิ่มหลังเข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ตามในเฟส 2 พื้นที่ 8 จังหวัดพบว่า ทุกที่มีหน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่มีความพร้อมแล้ว แต่สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือขอหน่วยบริการสาธารณสุขวิถีใหม่ช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้กับประชาชนในพื้นที่ทราบมากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนโครงการฯ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด” รองเลขาธิการ สปสช.กล่าว
นายปรมินทร์กล่าวว่า ต้องขอบคุณ และขอชื่นชมที่ทาง สปสช.ได้ให้โอกาสคลินิกได้เข้าร่วมมาทำงานเพื่อพี่น้องประชาชนคนไทย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดด้านเศรษฐกิจ ขาดแคลนปัจจัย ให้สามารถเข้าถึงการบริการฟื้นฟูสุขภาพ ทำให้ผู้ป่วย ที่ได้รับการดูแลลดโอกาสการเป็นผู้พิการ ได้มีโอกาสที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนปกติหรือดีขึ้นกว่าเดิมมากในด้านข้อมูลต่างๆ มีระบบการเบิกจ่ายเงินชดเชยได้เร็ว ในฐานะเป็น 1 จังหวัด ใน 8 จังหวัด นำร่องคือจ่ายเงินรวดเร็ววันต่อวัน อย่างช้าสุดไม่เกิน 3 วัน อย่างไรก็ตาม ทางคลินิกได้เข้าร่วมมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 ดำเนินการมาแล้วประมาณ 1 ปี 8 เดือน” นายปรมินทร์ กล่าว
เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัดฯ กล่าวว่าคนไข้ทั้งหมดเป็นคนไข้ของ สิทธิบัตรทอง ส่วนที่เหลือเป็นคนไข้ทั่วไปของคลินิก โดยแบ่งผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ที่มารับบริการจากมากไปน้อยมีดังนี้ 1.ผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง 2. ผู้ป่วยสะโพกหัก 3.ผู้ป่วยบาดเจ็บที่สมอง และ 4.ผู้ป่วยบาดเจ็บกระดูกสันหลัง ปัจจุบันมีคนไข้มาใช้บริการเฉลี่ย ประมาณ 8 – 10 คน ต่อ วัน
“ ขณะนี้พบว่ามีปัญหาการให้บริการในชุมชน คือ มีญาติและผู้ป่วยจะชอบมองว่าเราคือมิจฉาชีพซึ่งขณะนี้มีมิจฉาชีพเป็นจำนวนมาก ออกมาหลอกลวงชาวบ้าน และทุกคนได้รับข่าวสารจากสื่อต่างๆ ทำให้กลัว ไม่กล้ารับโทรศัพท์ไม่เชื่อถือเจ้าหน้าที่ที่ลงพื้นที่ และขอฝากเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ให้เตรียมเอกสารหรือบัตรประจำตัว เพื่อแสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตัวจริง ให้นักกายภาพของโรงพยาบาลแจ้งต่อคนไข้และญาติทุกครั้งก่อนจะจำหน่ายผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล ว่าจะมีนักกายภาพจากสปสช.ออกไปเยี่ยมที่บ้าน วีดีโอตอบกับเจ้าหน้าที่ที่เคยทำกายภาพบำบัดคนไข้เพื่อยืนยันให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นมิจฉาชีพ ต้องมีความสัมพันธ์อันดีต่อแผนกกายภาพของโรงพยาบาลและ รพสต.ทุกแห่ง เพื่อให้ประชาชนโทรศัพท์ไปสอบถามเจ้าหน้าที่ได้
“ขอบคุณสปสช.ที่จัดให้มีนวัตกรรมทางกายภาพบำบัดช่วยให้ผู้ป่วยสิทธิบัตรทองได้เข้าถึงการรักษามีผู้ป่วยจำนวนมาก” เจ้าของคลินิกกายภาพบำบัดฯกล่าว
ด้านพี่โก๋ ณรงค์ศักดิ์ ดีมัย อายุ39 ปี อาชีพขับรถส่งพัสดุก่อสร้าง หลังนอนพักที่เขียงนา ตื่นขึ้นมามีอาการชา แขนซีกขวาอ่อนแรง มีเพื่อนมาช่วยพาไปรพ.หนองบัวลำภู หมอบอกว่า ป่วยเป็นเส้นเลือดในสมองแตก รักษาตัว 20 วันและทำกายภาพบำบัด เมื่อต้นปีที่ผ่านมา และเมื่อมีโครงการบัตรประชาชนใบเดียว ทางรพ.ส่งตัวกลับมารักษา คลินิกกายภาพบำบัดใกล้บ้านโดยใช้สิทธืบัตรทอง
“ หมอจากคลินิกกายภาพบำบัดเติมบุญ ลงไปเยี่ยมและสอนวิธีเดินจับราว และนัดมาที่คลินิก จากเดินไม่ได้ ขณะนี้เดินได้เกือบ100% ผมประทับใจ โครงการบัตรประชาชนฯ ประทับใจหมอ และสปสช.อย่างมาก ช่วยให้ผมกลับมาเดินได้” พี่โก๋บอก
จากนั้น คณะ ได้เดินทางไปลงพื้นที่ คลินิกโนนสังทันตกรรม อำเภอโนนสัง จ.หนองบัวลำภู
ทพ.อรรถกล่าวว่า สปสช. ร่วมกับ 7 สภาวิชาชีพ และหน่วยบริการ ร่วมกันขับเคลื่อนการยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค ตามนโยบาย “30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว โดยเร่งรัดการจัดให้มีหน่วยบริการนวัตกรรมเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้โดยง่ายและสะดวก ซึ่งการดำเนินงานนำร่องในระยะแรก 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส มีสถานพยาบาลเอกชนแต่ละวิชาชีพ (คลินิกเทคนิคการแพทย์ (แล็ป) คลินิกเวชกรรม คลินิกทันตกรรม คลิติกกายภาพบำบัด คลินิกแพทย์แผนไทย คลินิกเภสัชกรรม (ร้านยา) และคลินิกพยาบาลและผดุงครรภ์ ) เพิ่มมากขึ้น (ณ วันที่ 31ตุลาคม 2566 มีสถานพยาบาลทั้งหมด 1,474แห่ง เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการ จำนวน 469 แห่ง คิดเป็น ร้อยละ 31.82
รองเลขาธิการสปสช.กล่าวว่า ในระยะที่ 2เริ่ม มีนาคม 2567 ใน 8 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ และพังงา หลังคิกออฟ (เริ่ม 1 มีนาคมที่ผ่านมา) พบว่า มีคลินิกทันตกรรมสนใจเข้าร่วมโครงการเป็นจำนวนมาก เรามีคลินิกทันตกรรมทั้งหมด 519 แห่ง ใน 12 จังหวัด ซึ่งเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 172 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 33 และมีการขึ้นทะเบียนอย่างต่อเนื่อง ส่วนงบประมาณที่ใช้ไป สปสช. จ่ายชดเชยให้คลินิกทันตกรรมที่เข้าร่วมโครงการฯไปแล้วกว่า 6,463,800 บาท จากจำนวนการให้บริการ 6,239 คน ให้บริการ 9,234 ครั้ง
“ขณะนี้มีหน่วยบริการหลายแห่งสนใจสมัครเข้าร่วมให้บริการ แต่ยังรู้สึกกังวลเรื่องทำข้อมูลเบิกจ่ายอยู่ อย่างไรก็ตาม สปสช. จะพยายามออกแบบการใช้งานที่สะดวกและเอื้อต่อหน่วยบริการให้มากที่สุด ซึ่งหน่วยบริการภาคเอกชนที่เข้ามาใหม่อาจไม่คุ้นชินและมีข้อเสนอที่ให้ สปสช. พัฒนา ซึ่งก็ยินดีที่จะรับข้อเสนอเล่านี้มาพัฒนาต่อไป”ทพ.อรรถพรกล่าวกล่าว
ทพ.นฤชิต ทองรุ่งเรืองชัย กล่าวว่า นโยบายบัตรประชาชนฯ เป็นนโยบายที่ดี เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการเข้าถึงบริการทันตกรรมพื้นฐานที่จำเป็นมากขึ้น ช่วยลดความแออัดของ รพ.ของรัฐ ทั้งทันตแพทย์มากกว่าครึ่งอยู่ในระบบเอกชน ถ้าสามารถมาเข้าร่วมโครงการนี้ได้ จะเพิ่มการเข้าถึงบริการทันตกรรมของประชาชนได้อย่างชัดเจน ซึ่งทางคลินิกฯ ได้เข้าร่วมและให้บริการเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา
เจ้าของคลินิกทันตกรรมกล่าวว่า ขณะนี้พบว่า ผู้มารับบริการสิทธิบัตรทองมาใช้บริการที่คลินิก โดยเฉลี่ย วันละ 1-3 คน ดูเหมือนยังน้อย เนื่องจากประชาชนเข้าใจว่า ต้องลงทะเบียนว่าต้องไปลงทะเบียน Health ID ก่อนถึงจะมารับบริการที่คลินิกได้ แต่เมื่อทางคลินิกแจ้งว่า รับบริการได้เลย ไม่ต้องเสียค่าบริการ ผลตอบรับดีขึ้น บอกว่า สะดวก รวดเร็ว บางส่วนก็ได้ไปแนะนำเพื่อนๆ คนรู้จัก คาดว่าจะมีผู้มารับบริการในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะให้บริการทันตกรรมพื้นฐาน ตรวจฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบฟลูออไรด์ และ เคลือบหลุมร่องฟัน ตามที่สปสช. กำหนด.