
หัวเว่ย ร่วมจัดแสดงนวัตกรรมดิจิทัลในงานอว. แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ส่งเสริมผู้มีความสามารถด้านดิจิทัล เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคอัจฉริยะ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (กลาง) ทรงพระฉายาลักษณ์ร่วมกับคณะรัฐมนตรีและพันธมิตรผู้จัดงาน อว. แฟร์ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้แก่ นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. และนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวง อว. รวมทั้งนายเอดิสัน สวี่ คณะกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด (แถวยืนที่ 9 จากขวา)
กรุงเทพฯ, 23 กรกฎาคม 2024 – หัวเว่ยร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัลและเร่งพัฒนาบุคลากรดิจิทัลคุณภาพสูงในประเทศไทย เพื่อมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพด้านดิจิทัลของประเทศ และก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน
นายเอดิสัน สวี่ (ซ้าย) คณะกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด กราบบังคมทูลถวายรายงานเกี่ยวกับแพลตฟอร์มหัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี ประเทศไทย แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตลอดจนถวายรายงานความคืบหน้าโครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคม (Digital Bus) มุ่งยกระดับความเท่าเทียมและองค์ความรู้ด้านดิจิทัลในโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล ร่วมโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริฯ
ที่ผ่านมาหัวเว่ย ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยงานภายใต้กระทรวง อาทิสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในการพัฒนากำลังคนผ่านความร่วมมือในโครงการต่างๆ โดยตัวอย่างความร่วมมือระหว่างกระทรวง อว.และหัวเว่ย คือ การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมหัวเว่ย อาเซียนอะคาเดมี ประเทศไทย Huawei ASEAN Academy (Thailand)เพื่อร่วมกันพัฒนาบุคคลากรที่มีทักษะด้านดิจิทัล ทั้งในด้านคลาวด์และ AI
ทั้งนี้ Huawei ASEAN Academy (Thailand)ได้มีส่วนช่วยพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลไปแล้วกว่า 96,000 คน ในประเทศไทย ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชาชีพ ตั้งแต่ผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT ไปจนถึงวิศวกรโซลาร์และนักเรียนในชนบท
ในขณะที่ ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจดิจิทัล หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาบุคลากรทางด้านดิจิทัลรวมทั้งสิ้น 100,000 คน ภายในปี 2568 ผ่านโปรแกรมการฝึกอบรมต่างๆ เช่น การอบรมผู้นำระดับ CEO นักพัฒนาคลาวด์ AI และวิศวกรด้านพลังงานสีเขียว
Huawei ASEAN Academy (Thailand)ออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลของประเทศไทยใน 4 ทิศทางหลัก:
ปี 2567 ถือเป็นปีที่ 25 ของการก่อตั้งหัวเว่ยในประเทศไทย โดยมีพันธกิจ “เติบโตในประเทศไทย ร่วมสนับสนุนประเทศไทย” ท่ามกลางนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะทางด้านดิจิทัลเป็นการลงทุนเชิงกลยุทธ์ของหัวเว่ย ซึ่งเรื่องนี้ได้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นของหัวเว่ยในการส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลเพื่อสร้างบุคคลากรด้านดิจิทัลร่วมกับพันธมิตร เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เพื่อให้ประเทศไทยก้าวหน้าและมีความสามารถในการแข่งขันในเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมจัดแสดงนวัตกรรมดิจิทัลที่งาน อว. แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND ซึ่งจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 กรกฎาคม ศกนี้
# # # #
เกี่ยวกับหัวเว่ย
หัวเว่ย คือผู้นำด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และสมาร์ทดีไวซ์ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2530 โดยหัวเว่ยมีพนักงานกว่า 207,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ให้บริการผู้คนมากกว่า 3,000 ล้านคนทั่วโลก
วิสัยทัศน์และพันธกิจของหัวเว่ยคือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาสู่การใช้งานทุกระดับเพื่อทุกผู้คน ทุกครัวเรือน และทุกองค์กร เพื่อวางรากฐานให้แก่โลกอัจฉริยะ หัวเว่ยได้ส่งมอบการประมวลผลคอมพิวเตอร์หลากหลายรูปแบบทุกที่ ทุกเวลาที่คุณต้องการ เพื่อนำเทคโนโลยีคลาวด์และความอัจฉริยะเข้าสู่ทั่วทุกมุมโลก สร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่จะช่วยทุกภาคอุตสาหกรรม ทุกองค์กร ให้มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และมีพลวัตร รวมทั้งสร้างนิยามใหม่ให้แก่ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ด้วย AI เพื่อเสริมสร้างความชาญฉลาดและออกแบบให้ตอบรับกับความต้องการเฉพาะของผู้คนในทุกแง่มุมของชีวิต ทั้งการใช้ชีวิตที่บ้าน ระหว่างการเดินทาง ที่ออฟฟิศ ในการสันทนาการ หรือแม้แต่ระหว่างการออกกำลังกาย