ทพ.อรรถพร รองเลขาฯสปสช.ลงพื้นที่เยี่ยมชมการใช้งานอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้ ในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทย ที่ผลิตจากยางพารา ที่โรงพยาบาลอุดรธานี และรพ.หนองคาย
สปสช.ลงพื้นที่เยี่ยมชมการใช้งานอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้ ในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม(Colostomy bag) ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทย ที่ผลิตจากยางพารา ที่โรงพยาบาลอุดรธานี และรพ.หนองคาย ชี้เป็นผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมโดยฝีมือคนไทย ช่วยลดค่าใช้จ่ายผู้ป่วยได้ถึง 24% ต่อปี ประหยัดงบประมาณภาครัฐฯ
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย ทพ.กวี วีระเศรษฐกุล ผู้อำนวยการเขต สปสช. เขต 8 อุดรธานี นางสาวจิตติ์พร ธรรมจินดา ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) และดร.ยุวดี เกตุสัมพันธ์ นายกสมาคมพยาบาลแผล ออสโตมีและควบคุมการขับถ่าย รศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ สถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ ม.สงขลานครินทร์ และนายสมบัติ หทัยเปี่ยมสุข ผู้แทนเครือข่ายผู้ป่วยมะเร็งลำไส้และทวารหนัก คณะผู้ป่วยที่ใช้นวัตกรรมฯร่วมลงพื้นที่ รพ.อุดรธานี และรพ.หนองคาย เพื่อรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงหลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติในการเลือกใช้วัสดุ/อุปกรณ์ใช้เก็บของเสียในผู้ป่วยผ่าตัดเปิดทวารเทียม(Colostomy bag) ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทย โครงการติดตามและขับเคลื่อนการใช้นวัตกรรมทางการแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนบัญชีนวัตกรรมไทย ฯกรณีอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้ (Colostomy Bag) ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมี ภก.ดำรงเกียรติ ตั้งเจริญ รองผอ.รพ.อุดรธานี และนพ.สมศักดิ์ ปฏิภาณวัตผอ.รพ.หนองคาย นพ.จารุวัฒน์ แจ้งวัง หัวหน้ากลุ่มงานศัลยกรรม นพ.รัฐวิชญ์ สุนทร หัวหน้ากลุ่มงานสูติ -นรีเวชกรรม รพ.หนองคาย เยี่ยมชมการจัดบริการสนับสนุนอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้ ของโรงพยาบาลอุดรธานี และโรงพยาบาลหนองคายโดยอุปกรณ์นี้ เป็นผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมไทย ภายใต้ชุดสิทธิประโยชน์ในระบบหลักประกันสุขภาพ
ทพ.อรรถพร กล่าวว่า บัญชีนวัตกรรมไทยคือรายการสินค้าหรือบริการที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัยพัฒนา หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้ และต้องผ่านการทดสอบรับรองโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สปสช. ให้ความสำคัญกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ในบัญชีนวัตกรรมเป็นอย่างมาก หากมีรายการจัดซื้อหรืออนุมัติสิทธิประโยชน์ใดที่มีผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรม ก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นก่อน ทั้งนี้เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสของผู้ผลิตให้ผลิตสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ โดยการลงพื้นที่ครั้งนี้ เป็นการเยี่ยมชมการใช้ผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรมชุดอุปกรณ์ใช้เก็บของเสียจากลำไส้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ปฎิบัติงานและนำฟีดแบคที่ได้สะท้อนกลับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น
รองเลขาธิการสปสช.กล่าวว่า บัญชีนวัตกรรมไทยคือรายการสินค้าหรือบริการที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการวิจัยพัฒนา หรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย โดยคนไทยมีส่วนร่วม ซึ่งอาจเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความคล้ายคลึงกับสิ่งที่มีอยู่แล้วก็ได้ และต้องผ่านการทดสอบรับรองโดยหน่วยงานที่เชื่อถือได้และมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สปสช. ให้ความสำคัญกับการใช้งานผลิตภัณฑ์ในบัญชีนวัตกรรมเป็นอย่างมาก หากมีรายการจัดซื้อหรืออนุมัติสิทธิประโยชน์ใดที่มีผลิตภัณฑ์จากบัญชีนวัตกรรม ก็จะเลือกใช้ผลิตภัณฑ์นั้นก่อน ทั้งนี้เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นการประหยัดงบประมาณรัฐและเพิ่มคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยด้วย
ขณะที่ รศ.นพ.วรวิทย์ วาณิชย์สุวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและนวัตกรรมทางการแพทย์ สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวว่า ถุงทวารเทียมถือเป็นนวัตกรรมที่ถูกคิดค้นขึ้นมาหลังจากที่ได้รับทุนการศึกษาวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ใช้ระยะเวลาในการวิจัย 5-6 ปี เพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐาน และเมื่อการวิจัยเข้าปีที่ 7 ก็ได้เข้าร่วมกลายเป็นหนึ่งในบัญชีนวัตกรรมไทย จากเดิมที่ต้องนำเข้าทวารเทียมจากต่างประเทศ 100% ผู้ป่วยรายหนึ่งต้องใช้ 5 ชุดต่อเดือน ราคาเฉลี่ยชุดละ 250-300 บาท ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยที่มีทวารเทียมในระบบบัตรทองประมาณ 5.4 หมื่นราย ต้องใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายอย่างน้อย 2.72 ชุดต่อปี และถ้าดูผู้ป่วยทุกสิทธิทั่วประเทศจะมีจำนวน 1.5 แสนราย ผู้ป่วยเหล่านี้ถ้าใช้งานอุปกรณ์ใน 1 ปี จะมีค่าใช้จ่าย 2,250 ล้านบาท แต่ทวารเทียมที่ผลิตจากยางพารามีราคาอยู่ที่ 190 บาท หากผู้ป่วยทั้งหมดหันมาใช้งานผลิตภัณฑ์นี้ ใน 1 ปี จะมีค่าใช้จ่ายรวม 1,710 ล้านบาท สามารถประหยัดงบประมาณลงได้ถึง 540 ล้านบาท ถือเป็นการลดงบประมาณและการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี
“ผู้ป่วยเหล่านี้ เนื่องจากได้รับการผ่าตัดยกทวารเทียมเปลี่ยนทางเดินให้อุจจาระออกมาที่ผนังหน้าท้อง จึงมีของเสียไหลทั้งอุจจาระและผายลมออกมาได้ตลอดเวลาเนื่องจากไม่มีหูรูดเหมือนทวารหนัก จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมตลอดเวลา อุปกรณ์ดังกล่าวประกอบด้วย แป้นติดผิวหนังและถุงรองรับสิ่งขับถ่าย
อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่สำคัญของการใช้อุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมนี้คือความขาดแคลน ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงบริการของชุดอุปกรณ์ที่มีจำนวนจำกัดและมีราคาสูง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์นำเข้าจากต่างประเทศรวมถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้อุปกรณ์ดังกล่าว เช่น ผื่นแพ้ที่ผิวหนัง การหลุดลอกของชุดอุปกรณ์ก่อนเวลาอันควร ทำให้เกิดกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ ส่งผลให้เกิดผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากปัญหาดังกล่าว ทางทีมผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมโดยใช้ยางพาราซึ่งสามารถผลิตเองได้ในประเทศ เพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยได้พัฒนาชุดอุปกรณ์ให้มีรูปแบบที่เหมาะกับผิวและผนังหน้าท้องของคนไทย จนผลิตภัณฑ์นี้ได้รับรางวัลชนะเลิศ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเภท หน่วยงานภาครัฐ (Government Sector) ประจำปี 2563”
ด้านนายทองใส พงษาเทศ อายุ 59 ปี ป่วยเป็นมะเร็งลำไส้มาแล้ว 2 ปีที่ได้รับการผ่าตัดยกทวารเทียมเปลี่ยนทางเดินให้อุจจาระออกมาที่ผนังหน้าท้อง บอกว่า ขอบคุณ สปสช.ที่จัดหาผลิตภัณ์ถุงทวารเทียมให้ ประหยัดค่าใช้จ่าย ได้มาก อีกทั้งการใช้ชีวิตเหมือนคนปกติสะดวกมาก ช่วงแรกๆที่ใช้ยังไม่คล่องก็จะหงุดหงิดบ้าง กังวลบ้าง ซึ่งตนจัมีลูกและภรรยาช่วยดูแล ถ้าไม่มีหน่วยงานสปสช.เข้าช่วยเหลือส่วนนี้ตนไม่รู้ว่าชีวิตจะเป็นอย่างไร เพราะค่าใช้จ่ายส่วนนี้แพงมาก
ทั้งนี้สิทธิประโยชน์ถุงทวารเทียม สปสช. ได้บรรจุเป็นสิทธิประโยชน์ใหม่ มาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 หรือเริ่มในปีงบประมาณ 2562 ด้วยมีผู้ป่วยจำนวนมากที่ต้องใช้ถุงทวารเทียม โดยเฉพาะผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ แต่เข้าไม่ถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นเหล่านี้ ส่งผลต่อสุขอนามัยและคุณภาพชีวิตที่ดี และด้วยในวันนี้มีผลิตภัณฑ์ “แป้นปิดรอบลำไส้แบบเรียบ” และ “ถุงเก็บสิ่งขับถ่ายจากลำไส้” ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีนวัตกรรมไทยแล้ว มีคุณภาพและมาตรฐานที่ดี เพื่อเป็นการสนับสนุนนวัตกรรมของไทยตามนโยบายรัฐบาล จึงได้เสนอต่อบอร์ด สปสช. และมีมติเห็นชอบตั้งแต่พฤษภาคม 2566